หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
จิตวิทยาสำหรับการเรียนการสอน
จิตวิทยา
เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย
สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษา หมายถึง
วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี
มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียนในสภาพของการจัดการเรียนการสอน
โยมีเนื้อหาและระเบียบวิธีการส่วนของเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับธรรมชาติของการเรียนรู้และพัฒนาการ
สภาวะของเด็กและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
และประมวลนำเนื้อหามาหาวิธีการจัดรูปแบบที่ทำให้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถนำไปใช้ได้
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการเรียนจิตวิทยาการศึกษา
คือ เพื่อให้เข้าใจ (Understanding) เพื่อการทำนาย (Prediction) และเพื่อควบคุม (Control)พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ กู๊ดวินและคลอส ไมเออร์(Goodwill
& Cross Mier,1975) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยา
ไว้ดังนี้
1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี
หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้
และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน
การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ความสำคัญของจิตวิทยา
จิตวิทยามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตอย่างกว้างขวาง
ผู้ศึกษาจิตวิทยาสามารถได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
เช่น ความต้องการ การแก้ปัญหา การปรับตัว อารมณ์และความรู่สึกในสถานการณ์ต่างๆ
2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต
รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี สามารถเอาชนะปมด้อยต่างๆ
รู้วิธีแก้ปัญหาและปรับตัวอย่างเหมาะสม ขจัดความขัดแย้งในใจได้และความวิตกกังวลได้
3.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ
และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม
4.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม
ประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา
จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโดรมันโบราณที่พยายามค้นหาความหมายของจิต
ซึ่งในระยะแรกจะคิดถึงหัวใจและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด
ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 19 การศึกษา จิตวิทยาแยกออกเป็น 2 แนวทาง
คือแนวทางปรัชญาและแนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญา คือจอห์น
ล็อค (John Lock, 1632-1704) เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่าเป็น บิดาแห่ง
จิตวิทยาแผนใหม่
ซึ่งให้ความสนใจและศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต
และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ
เขาเชื่อว่าจิตเปรียบเหมือนกระดาษที่ว่างเปล่า
แต่เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัสทำให้เกิดรอยขีดเขียน ดังนั้น
สิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อจิตมาก
เขาอธิบายว่าจิตของมนุษย์เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้
และถูกเชื่อมโยงต่อกัน ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากขณะที่การอธิบายเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องยากไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน
การศึกษาจิตวิทยาจึงถูกนำไปใช้ในการทดลอง การสังเกต การพิจารณาในเวลาต่อมา
บุคคลที่เข้ามาศึกษาจิตวิทยาในเวลาต่อมานอกจาก John Lock แล้ว
ดังนี้
Cassman ได้เขียนหนังสือชื่อ Aythropologica
อธิบายเกี่ยวกับความรู้เรื่องจิตของมนุษย์ในปี 1590 ทำให้วิชา Psychology
เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
Emest Hinrich Weber (1795-1878)
ผู้ค้นพบพื้นฐานร่วมระหว่างความรู้สึกทางสรีระกับจิตวิทยาฟิสิกส์ เขาศึกษาเกี่ยวกับสัมผัสและความรู้สึกทางกล้ามเนื้อ
ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
โดยวิธีการหาความแตกต่างของการรับความรู้สึกของผู้ถูกทดลอง
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย
สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลก
อื่น ๆ
ดังพระราชนิพนธ์บทความของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ ที่ว่า
"สิ่งที่ทำให้คนเราแตกต่างจากสัตว์อื่น ๆ ก็เพราะว่า คนย่อมมีปัญญา
ที่จะนึกคิดและปฏิบัติสิ่งดีมีประโยชน์และถูกต้องได้ . "
การเรียนรู้ช่วยให้มนุษย์รู้จักวิธีดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข
ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสภาพการต่างๆ ได้
ความสามารถในการเรียนรู้ของมนุษย์จะมีอิทธิพลต่อความสำเร็จและความพึงพอใจในชีวิตของมนุษย์ด้วย
ประสบการณ์ทางตรง คือ
ประสบการณ์ที่บุคคลได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเอง
เช่น เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเรียนรู้คำว่า “ร้อน”
เวลาที่คลานเข้าไปใกล้กาน้ำร้อน แล้วผู้ใหญ่บอกว่าร้อน และห้ามคลานเข้าไปหา เด็กย่อมไม่เข้าใจและคงคลานเข้าไปหาอยู่อีก
จนกว่าจะได้ใช้มือหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปสัมผัสกาน้ำร้อน
จึงจะรู้ว่ากาน้ำที่ว่าร้อนนั้นเป็นอย่างไร
ต่อไป
เมื่อเขาเห็นกาน้ำอีกแล้วผู้ใหญ่บอกว่ากาน้ำนั้นร้อนเขาจะไม่คลานเข้าไปจับกาน้ำนั้น
เพราะเกิดการเรียนรู้คำว่าร้อนที่ผู้ใหญ่บอกแล้ว เช่นนี้กล่าวได้ว่า ประสบการณ์
ตรงมีผลทำให้เกิดการเรียนรู้เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
ในการมีประสบการณ์ตรงบางอย่างอาจทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
แต่ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ ได้แก่
๑. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากฤทธิ์ยา
หรือสิ่งเสพติดบางอย่าง
๒.
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเจ็บป่วยทางกายหรือทางใจ
๓.
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย
๔. พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนต่างๆ
ประสบการณ์ทางอ้อม
คือ ประสบการณ์ที่ผู้เรียนมิได้พบหรือสัมผัสด้วยตนเองโดยตรง แต่อาจได้รับประสบการณ์ทางอ้อมจาก การอบรมสั่งสอนหรือการบอกเล่า
การอ่านหนังสือต่างๆ และการรับรู้จากสื่อมวลชนต่างๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของนักการศึกษามุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓
ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง
ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความจำ ความเข้าใจ
การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
๒. ด้านเจตพิสัย (Affective Domain ) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท ความรู้สึก
ความสนใจ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
๓. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ
ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภท
การเคลื่อนไหว การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
การเรียนรู้
มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของบุคคลทั้งสมอง
ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยา
หรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา ในสภาพการเรียนการสอน
สิ่งเร้าจะหมายถึงครู กิจกรรมการสอน และอุปกรณ์การสอนต่างๆ ที่ครูนำมาใช้
๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา
หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น การเคลื่อนไหว ท่าทาง คำพูด การคิด
การรับรู้ ความสนใจ
และความรู้สึก เป็นต้น
๔. การเสริมแรง (Reinforcement)
เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
๑. การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้
๔ ขั้นตอน คือ
๑.๑
มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
๑.๒
บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
๑.๓
บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
๑.๔
บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
๒.
การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์
สังคม
และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย
เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
๓. การเรียนรู้เกิดได้ง่าย
ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
คือ การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน
เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
๔.
การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน
บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน มีความสามารถในการเรียนต่างกัน
มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน
ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้
และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้
การถ่ายโยงการเรียนรู้
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดขึ้นได้
๒ ลักษณะ คือ การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก (Positive
Transfer) และการถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ (Negative Transfer)
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก
(Positive
Transfer) คือ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้เร็วขึ้น
ง่ายขึ้น หรือดีขึ้น การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางบวก
มักเกิดจาก
๑. เมื่องานหนึ่ง
มีความคล้ายคลึงกับอีกงานหนึ่ง
และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้งานแรกอย่างแจ่มแจ้งแล้ว
๒.
เมื่อผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างงานหนึ่งกับอีกงานหนึ่ง
๓.
เมื่อผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะนำผลการเรียนรู้จากงานหนึ่งไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับการเรียนรู้อีกงานหนึ่ง
และสามารถจำวิธีเรียนหรือผลของการเรียนรู้งานแรกได้อย่างแม่นยำ
๔.
เมื่อผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยชอบที่จะนำความรู้ต่างๆ
ที่เคยเรียนรู้มาก่อนมาลองคิดทดลองจนเกิดความรู้ใหม่ๆ
การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ
(Negative
Transfer)
คือการถ่ายโยงการเรียนรู้ชนิดที่ผลการเรียนรู้งานหนึ่งไปขัดขวางทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้ช้าลง หรือยากขึ้นและไม่ได้ดีเท่าที่ควร การถ่ายโยงการเรียนรู้ทางลบ อาจเกิดขึ้นได้ ๒
แบบ คือ
๑. แบบตามรบกวน (Proactive Inhibition)
ผลของการเรียนรู้งานแรกไปขัดขวางการเรียนรู้งานที่ ๒
๒. แบบย้อนรบกวน (Retroactive Inhibition) ผลการเรียนรู้งานที่ ๒
ทำให้การเรียนรู้งานแรกน้อยลง
การเกิดการเรียนรู้ทางลบมักเกิดจาก
-
เมื่องาน ๒ อย่างคล้ายกันมาก แต่ผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้งานใดงานหนึ่งอย่างแท้จริงก่อนที่จะเรียนอีกงานหนึ่ง ทำให้การเรียนงาน ๒
อย่างในเวลาใกล้เคียงกันเกิดความสับสน
-
เมื่อผู้เรียนต้องเรียนรู้งานหลายๆ อย่างในเวลาติดต่อกัน
ผลของการเรียนรู้งานหนึ่งอาจไปทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนในการเรียนรู้อีกงานหนึ่งได้
การนำความรู้ไปใช้
๑. ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่ ต้องแน่ใจว่า
ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒.
พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
๓. ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ
และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน
ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕.
พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น
จะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ
คือ
๑. มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน ถาวร
๒.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก
การปฏิบัติซ้ำๆ เท่านั้น
๓. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ
ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory
of Learning)
ทฤษฎีการเรียนรู้มีอิทธิพลต่อการจัดการเรียนการสอนมาก เพราะจะเป็นแนวทางในการกำหนดปรัชญาการศึกษาและการจัดประสบการณ์
เนื่องจากทฤษฎีการเรียนรู้เป็นสิ่งที่อธิบายถึงกระบวนการ
วิธีการและเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และตรวจสอบว่าพฤติกรรมของมนุษย์ มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ แบ่งออกได้
๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ
๑. ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Associative Theories)
๒. ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
ทฤษฎีนี้เห็นว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า(Stimulus) และการตอบสนอง (Response) ปัจจุบันเรียกนักทฤษฎีกลุ่มนี้ว่า
"พฤติกรรมนิยม" (Behaviorism) ซึ่งเน้นเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมที่มองเห็นและสังเกตได้มากกว่ากระบวนการคิดและปฏิกิริยาภายในของผู้เรียน ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้
ดังนี้
๑. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
๑.๑
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
๑.๒
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
๒. ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
๒.๑
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
๒.๒
ทฤษฎีสัมพันธ์ต่อเนื่อง
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑. ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี
รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม หรือครูผู้สอน
เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
๒.
ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา
กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.
ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว
ผิดหวัง และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม
ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน
และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น
กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด
และวิตกกังวลมาก ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑. การเสริมแรง
และ การลงโทษ
๒.
การปรับพฤติกรรม และ การแต่งพฤติกรรม
๓.
การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป
การเสริมแรงและการลงโทษ
การเสริมแรง
(Reinforcement)
คือการทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการได้รับสิ่งเสริมแรง
(Reinforce) ที่เหมาะสม การเสริมแรงมี ๒ ทาง
ได้แก่
๑.
การเสริมแรงทางบวก (PositiveReinforcement ) เป็นการให้สิ่งเสริมแรงที่บุคคลพึงพอใจ
มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
๒.
การเสริมแรงทางลบ (Negative Reinforcement) เป็นการนำเอาสิ่งที่บุคคลไม่พึงพอใจออกไป
มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถี่ขึ้น
การลงโทษ (Punishment) คือ
การทำให้อัตราการตอบสนองหรือความถี่ของการแสดงพฤติกรรมลดลง การลงโทษมี
๒ ทางได้แก่
๑.
การลงโทษทางบวก(Positive
Punishment) เป็นการให้สิ่งเร้าที่บุคคลที่ไม่พึงพอใจ มีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
๒.
การลงโทษทางลบ (Negative
Punishment)เป็นการนำสิ่งเร้าที่บุคคลพึงพอใจ
หรือสิ่งเสริมแรงออกไปมีผลทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมลดลง
ตารางการเสริมแรง(The
Schedule of Reinforcement)
๑.
การเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง (Continuous
Reinforcement)
เป็นการให้สิ่งเสริมแรงทุกครั้งที่บุคคลแสดงพฤติกรรมตามต้องการ
๒.
การเสริมแรงเป็นครั้งคราว (Intermittent
Reinforcement) ซึ่งมีการกำหนดตารางได้หลายแบบ ดังนี้
๒.๑ กำหนดการเสริมแรงตามเวลา (Iinterval schedule)
๒.๑.๑
กำหนดเวลาแน่นอน (Fixed Interval
Schedules = FI)
๒.๑.๒
กำหนดเวลาไม่แน่นอน (Variable
Interval Schedules = VI )
๒.๒ กำหนดการเสริมแรงโดยใช้อัตรา
(Ratio schedule) ๒.๒.๑ กำหนดอัตราแน่นอน (Fixed
Ratio Schedules = FR)
๒.๒.๒
กำหนดอัตราไม่แน่นอน (Variable
Ratio Schedules = VR)
การปรับพฤติกรรมและการแต่งพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรม (Behavior
Modification) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
มาเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์
โดยใช้หลักการเสริมแรงและการลงโทษ
การแต่งพฤติกรรม (Shaping
Behavior )
เป็นการเสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมใหม่
โดยใช้วิธีการเสริมแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งเกิดพฤติกรรมตามต้องการ
บทเรียนสำเร็จรูป (Programmed
Instruction)
เป็นบทเรียนโปรแกรมที่นักการศึกษา
หรือครูผู้สอนสร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา กิจกรรม คำถามและ คำเฉลย
การสร้างบทเรียนโปรแกรมใช้หลักของ Skinner คือเมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาและทำกิจกรรม จบ ๑
บท
จะมีคำถามยั่วยุให้ทดสอบความรู้ความสามารถ
แล้วมีคำเฉลยเป็นแรงเสริมให้อยากเรียนบทต่อๆ ไปอีก
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.
การสอนในชั้นเรียนครูควรกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน
จัดแบ่งเนื้อหาเป็นลำดับเรียงจากง่ายไปยาก
เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจติดตามบทเรียนอย่างต่อเนื่อง
เนื้อหาที่เรียนควรมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของผู้เรียน
๒.
ก่อนเริ่มสอนผู้เรียนควรมีความพร้อมที่จะเรียน
ผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น
ป่วย เหนื่อย ง่วง หรือ หิว
จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ
๓.
ครูควรจัดให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกฝนและทบทวนสิ่งที่เรียนไปแล้ว
แต่ไม่ควรให้ทำซ้ำซากจนเกิดความเมื่อยล้าและเบื่อหน่าย
๔.
ครูควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสพึงพอใจและรู้สึกประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม โดยครูต้องแจ้งผลการทำกิจกรรมให้ทราบ
หากผู้เรียนทำได้ดีควรชมเชยหรือให้รางวัล หากมีข้อบกพร่องต้องชี้แจงเพื่อการปรับปรุงแก้ไข
การนำหลักการทฤษฎีกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ
ไปประยุกต์ใช้
๑.
ครูควรสร้างบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
และมีอิสระที่จะให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ทั้งที่ถูกและผิด เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล
และเกิดการหยั่งเห็น
๒.
เปิดโอกาสให้มีการอภิปรายในชั้นเรียน
โดยใช้แนวทางต่อไปนี้
๒.๑ เน้นความแตกต่าง
๒.๒
กระตุ้นให้มีการเดาและหาเหตุผล
๒.๓ กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม
๒.๔
กระตุ้นให้ใช้ความคิดอย่างรอบคอบ
๒.๕
กำหนดขอบเขตไม่ให้อภิปรายออกนอกประเด็น
๓.
การกำหนดบทเรียนควรมีโครงสร้างที่มีระบบเป็นขั้นตอน เนื้อหามีความสอดคล้องต่อเนื่องกัน
๔.
คำนึงถึงเจตคติและความรู้สึกของผู้เรียน
พยายามจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ผู้เรียนนำไปใช้ประโยชน์ได้
และควรจัดโอกาสให้ผู้เรียนรู้สึกประสบความสำเร็จด้วย
๕.
บุคลิกภาพของครูและความสามารถในการถ่ายทอด
จะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้เรียนมีความศรัทธาและครูจะสามารถเข้าไปอยู่ใน Life space ของผู้เรียนได้
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้
๑.
ในห้องเรียนครูจะเป็นตัวแบบที่มีอิทธิพลมากที่สุด ครูควรคำนึงอยู่เสมอว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตและเลียนแบบจะเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าครูจะไม่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ก็ตาม
๒.
การสอนแบบสาธิตปฏิบัติเป็นการสอนโดยใช้หลักการและขั้นตอนของทฤษฎีปัญญาสังคมทั้งสิ้น
ครูต้องแสดงตัวอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ ความผิดพลาดของครูแม้ไม่ตั้งใจ
ไม่ว่าครูจะพร่ำบอกผู้เรียนว่าไม่ต้องสนใจจดจำ
แต่ก็ผ่านการสังเกตและการรับรู้ของผู้เรียนไปแล้ว
๓.
ตัวแบบในชั้นเรียนไม่ควรจำกัดไว้ที่ครูเท่านั้น
ควรใช้ผู้เรียนด้วยกันเป็นตัวแบบได้ในบางกรณี โดยธรรมชาติเพื่อนในชั้นเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อการเลียนแบบสูงอยู่แล้ว
ครูควรพยายามใช้ทักษะจูงใจให้ผู้เรียนสนใจและเลียนแบบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ดี
มากกว่าผู้ที่มีพฤติกรรมไม่ดี
จิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการขอผู้เรียน
ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา
การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา
เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ
เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทาง
วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับครูและนักการศึกษาประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
๑. ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน
นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา
บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน
เพราะวัตถุประสงค์จะเป็นตัวกำหนดการจัดการเรียนการสอน
๒. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ
เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้
เพราะจะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัยต่างๆ โดยเฉพาะวัยอนุบาล
วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็น
วัยที่กำลังศึกษาในโรงเรียน
๓. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ
แล้ว
นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้านระดับเชาวน์ปัญญา
ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน
และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
๔. ทฤษฎีการเรียนรู้ นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้
นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้ว
ยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของ
ผู้เรียน เช่น
แรงจูงใจว่ามีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร
ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน
๕. ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน
ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการช่วยนักการศึกษาและครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน
สำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
๖. หลักการสอนและวิธีสอน
นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอนตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ
เช่น หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม
และมานุษยนิยม
๗. หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า
การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพหรือไม่
หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของ แต่ละวิชาหรือหน่วยเรียนหรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ
๘. การสร้างบรรยากาศของห้องเรียน เพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู
วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้
๑. ช่วยครูให้รู้จักลักษณะนิสัย (Characteristics)
ของนักเรียนที่ครูต้องสอน
๒. ช่วยให้ครูมีความเข้าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน
๓. ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
๔. ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก่วัย
๕. ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่าง ๆ
๖. ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
๗. ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้
๘. ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีกานที่มีประสิทธิภาพ
๙. ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดี
ไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาอย่างเดียว
๑๐. ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน
ความหมายของจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์
จิตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Psychology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phyche แปลว่า วิญญาณ กับ Logos แปลว่า การศึกษา ตามรูปศัพท์ จิตวิทยาจึงแปลว่า วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ แต่ในปัจจุบันี้ จิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของจิตวิทยาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นั่นคือ จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษากี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
การเรียนรู้ (Learning) ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงที่ไม่จัดว่าเกิดจากการเรียนรู้ ได้แก่ ฤติกรรมที่เป็นการเปลี่ยนแปลงชั่วคราว และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เนื่องมาจากวุฒิภาวะ
จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง
อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
1. ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2. สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3. การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4. การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
(1) ประสบการณ์
(2)
ความเข้าใจ
(3) ความนึกคิด
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
1. ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วยประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2. ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า
ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize)
ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้
สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่
ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง
การสร้างแรงจูงใจนับว่าสำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้เรียนเกิดความพอใจเมื่อเขาได้รับสิ่งที่ต้องการหรือรางวัล
รางวัลจึงเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมของผู้เรียน
นั่นก็คือในขั้นแรกครูจึงต้องสร้างแรงจูงใจภายนอกให้กับผู้เรียน
ครูจะต้องให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำหรือผลการเรียน เพราะการรู้ผลจะทำให้ผู้เรียนทราบว่าการกระทำนั้นถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง
ดีหรือไม่ดี พอใจหรือไม่พอใจ
ถ้าการกระทำนั้นผิดหรือไม่เป็นที่พอใจเขาก็จะได้รับการ แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
เพื่อที่จะได้รับสิ่งที่เขาพอใจต่อไป
นอกจากนี้ในการเรียนการสอน
ครูจะต้องสอนในสิ่งที่คล้ายกับโลกแห่งความจริงที่เขาจะออกไปเผชิญให้มากที่สุด
เพื่อที่นักเรียนจะได้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้จากการเรียนในชั้นเรียนไปสู่สังคมภายนอกได้อย่างดี
จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้
การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่
ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน
สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น Horace B. English and Ava C. English ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า
จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
-พฤติกรรม (Behavior)
-การกระทำ (Acts)
-กระบวนการคิด (Mental process)ไปพร้อมกับการศึกษาเรื่อง
สติปัญญา, ความคิด , ความเข้าใจ
การใช้เหตุผล การเข้าใจตนเอง(Selfconcept)ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลด้วยจิตวิทยาการศึกษา
ซึ้งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาให้เข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์
องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการ จึงครอบคลุมผู้เรียน ผู้สอน
และสิ่งแวดล้อมขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา จึงมีในเรื่องต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องประวัติความเป็นมา ของจิตวิทยา แนวคิดของนักจิตวิทยา
ที่มีผลต่อการเรียนรู้
2. ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ
ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นเรื่อง
ความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่อง สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และแรงจูงใจ
เป็นต้น
3. การเรียนรู้ โดยเน้นศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้การแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ การถ่ายโยง
ตลอดจนการจัดสภาพการเรียนรู้ต่าง ๆ
4. การประยุกต์เทคนิคและวิธีการเรียนรู้ โดยผู้สอนเน้นให้
ผู้เรียนสามารถนำเทคนิคและวิธีการไปใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาในการพัฒนาตน
5. การปรับพฤติกรรม โดยเน้นการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
ไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา โดยใช้หลักการเรียนรู้ เป็นต้น
6. เทคนิค และวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยา เช่น
การสังเกต การสำรวจ การทดลอง และศึกษาเป็นรายกรณี
วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
ได้กล่าวอยู่ 2ประการ คือ
1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน
ผู้ที่
เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา
เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษามีขอบข่ายกว้างขวาง
และมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น ดังนี้
1. จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆซึ่งอาจแบ่งเป็น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่
3. จิตวิทยาสังคม เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา(Sociology)และมนุษยวิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
4. จิตวิทยาอปกติ เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
1. จิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆซึ่งอาจแบ่งเป็น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่
3. จิตวิทยาสังคม เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา(Sociology)และมนุษยวิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
4. จิตวิทยาอปกติ เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
5.จิตวิทยาประยุกต์
เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์
เช่น นำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรม
การควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น
6. จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม
รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
7.จิตวิทยาบุคลิกภาพ(Psychology of Personality)เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา
7.จิตวิทยาบุคลิกภาพ(Psychology of Personality)เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษา
ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
3.ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข
ประโยชน์ของจิตวิทยา
ประโยชน์ของความรู้ทางจิตวิทยา ซึ่งช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจพื้นฐานที่มาแห่งพฤติกรรมของบุคคลทั้งพฤติกรรมปกติและอปกติ
ช่วยให้เกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น จากความเข้าใจดังกล่าว
เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาในหลายประการดังนี้
2.1 ประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ คือการเข้าใจตนเอง
เข้าใจผู้อื่น ช่วยให้ยอมรับตนเอง ยอมรับผู้อื่น ทั้งในส่วนดีและไม่ดี
ซึ่งนำไปสู่การดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสุข
โดยเป็นแนวทางให้ใช้ส่วนดีซึ่งแต่ละคนมีต่าง ๆ กันมาเป็นประโยชน์แก่งาน
แก่กิจกรรมที่ปฏิบัติ สำหรับส่วนไม่ดี เมื่อยอมรับแล้ว ทำให้วางตนได้ตามสบาย
ไม่เครียด ไม่ปิดบังซ่อนเร้นหรือระวังตัวมาก ปรับตนเข้ากับคนทั่วไปได้
มีความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น
2.2 ประโยชน์ในด้านการแก้ไข และป้องกันปัญหาทางจิตวิทยา คือช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบที่มาของพฤติกรรมปกติและอปกติ ในรายที่ผิดปกติ การทราบสาเหตุแห่งพฤติกรรมจะช่วยเป็นแนวทางในการแก้ไข
ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าต้องแก้ไขที่สาเหตุตรงไหน อย่างไร
และระดับใดจะช่วยได้ด้วยตนเอง ระดับใดควรส่งถึงมือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
นอกจากนั้นยังเป็นแนวทางแก่ผู้ศึกษาที่จะค้นคว้าหาวิธีการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสียแต่ต้น
2.3 ประโยชน์ในด้านการพัฒนาสร้างเสริม คือ
จิตวิทยานอกจากช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น
เข้าใจที่มาของพฤติกรรมปกติ และพฤติกรรมปกติแล้ว
ยังช่วยให้ผู้ศึกษาได้แนวทางในการพัฒนาสร้างเสริม
ควบคุมพฤติกรรมของคนเองและผู้อื่นให้เหมาะสมแก่งาน แก่กิจกรรม
แก่สถานะและบทบาทของแต่ละบุคคล
เป็นแนวทางนำจุดดีในตนและผู้อื่นมาเป็นประโยชน์แก่งาน
แต่ทั้งนี้ผู้ศึกษาก็ควรต้องเรียนรู้โดยลึกซึ้งเฉพาะทางในการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ในงานหรือกิจกรรมนั้น
ๆ
ความสำคัญของจิตวิทยากับการจัดการศึกษา
1.
จิตวิทยากับการพัฒนาหลักสูตร จิตวิทยานำมาพัฒนาหลักสูตร 2 แขนง คือ
1) จิตวิทยาพัฒนาการ นำมาพัฒนาหลักสูตรในด้าน 1)
การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร 2) การกำหนดระยะเวลาความสนใจของเด็กหรือคาบเวลาในการเรียนรู้
3) การกำหนดเกณฑ์อายุมาตรฐานของการเข้าเรียน ต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็กทั้งทางร่างกายและสติปัญญา
4) การจัดเนื้อหาและประสบการณ์การเรียนรู้
ซึ่งจะต้องยึดลำดับความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความยากง่าย
ความสลับซับซ้อนของเนื้อหาทำให้พอเหมาะกับวัยของผู้เรียนด้วย
2) จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นจิตวิทยาว่าด้วยเรื่องธรรมชาติ
ของการเรียนรู้และองค์ประกอบต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การคิด และการแก้ปัญหา
จิตวิทยาแขนงนี้จะช่วยให้ทราบว่ามนุษย์เราเรียนรู้ได้อย่างไร
ทำอย่างไรจึงเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีปัจจัยอะไรบ้างที่มีอิทธิพลทำให้ผู้เรียน
เรียนรู้ได้เร็วหรือช้า เป็นต้น
2. จิตวิทยากับการจัดการเรียนการสอน
1) จิตวิทยากับครู จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
วิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับครู ดังนี้
(1) ช่วยให้ครูสามารถเข้าใจตนเองพิจารณา
ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ
ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
(2) ช่วยให้ครู
เข้าใจทฤษฎี วิธีการใหม่ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่น
ในการเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรม
ครูจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายขึ้น
(3) ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ
ความเจริญเติบโตของผู้เรียน และสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับธรรมชาติ
ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนแต่ละวัยได้
(4) ช่วยให้ครูเข้าใจและสามารถเตรียมบทเรียน
วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรม ตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา
ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียนตามหลักการ
(5) ช่วยให้ครู
รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ปัญหา
และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
(6) ช่วยให้ครูมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้เรียน
มีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่างราบรื่น
(7) ช่วยให้ครูนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบ
โดยการนำทฤษฎีและหลักการไปใช้
(8) ช่วยให้ครู
เข้าใจหลักปฏิบัติ หรือการปฏิบัติตัวในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นตามความเชื่อถือหรือทฤษฎีการเรียนรู้ที่ตนเองเข้าใจและนิยมที่จะปฏิบัติ
เช่น การเรียนจากการสังเกตหรือการเลียนแบบ
(9) ช่วยให้ครูสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมและวิธีการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
และที่สำคัญก็คือ ทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยให้ครูสามารถคาดการณ์ได้ว่า ควรจะปฏิบัติการณ์อย่างไรให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
(10) ช่วยให้ครูนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้
ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
เพื่อสามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น
(11) ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียนที่ครูต้องสอน
โดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม
(12) ช่วยให้ครูมีความเข่าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของผู้เรียน
เช่น อัตมโนทัศน์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่ช่วยผู้เรียนให้มี
อัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร
(13) ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล
เพื่อจะได้ช่วยผู้เรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
(14) ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก้วัยและขั้นพัฒนาการของนักเรียน
เพื่อจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและมีความที่อยากจะเรียนรู้
(15) ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น แรงจูงใจอัตมโนทัศน์
และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
(16) ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน
เพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้นักเรียนทุกคนเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้
(16.1) ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนที่จะต้องสอน
และสามารถที่จะเขียนวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจว่าสิ่งคาดหวังให้นักเรียนรู้มีอะไรบ้าง โดยถือว่าวัตถุประสงค์ของบทเรียนคือสิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนทราบ
เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง
(16.2) ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม
โดยคำนึงลักษณะนิสัยของผู้เรียนและวิชาที่สอน และกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
(16.3) ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้นแต่ใช้ประเมินความพร้อมของผู้เรียนก่อนสอน
ในระหว่างที่ทำการสอน
เพื่อทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าหรือมีปัญหาในการเรียนรู้อะไรบ้าง
(17) ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ
รวมทั้งพฤติกรรมของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง เช่น
การใช้คำถาม การให้แรงเสริม และการทำตนเป็นต้นแบบ
(18) ช่วยครูให้ทราบว่าผู้เรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว
แต่มีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติหรือ
อัตมโนทัศน์ของผู้เรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อผู้เรียน
(19) ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้เรียน
ครูและผู้เรียนมีความรักและไว้วางใจซึ่งกันและกันความช่วยเหลือกันและกันของผู้เรียน
ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่ทุกคนมีความสุขและผู้เรียนรักโรงเรียน อยากมาโรงเรียน
2) จิตวิทยากับผู้เรียน
จากทัศนะของนิสิตหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู
สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของจิตวิทยากับผู้เรียน ดังนี้
(1) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจลักษณะธรรามชาติของมนุษย์
ลำดับขั้นพัฒนาการชีวิตในแต่ละช่วงวัย และทราบถึงองค์ประกอบต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
(2) ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับ
เข้าใจตนเองและผู้อื่น
เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
สามารถปรับตัวให้เข้ากับบุคคลในวัยต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
ตลอดจนสามารถช่วยเหลือบุคคลวัยต่างๆ ในแนวทางที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
(3) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
รู้จักจิตใจคนอื่น รู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้
ซึ่งทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข
จิตวิทยาการเรียนการสอนและความเป็นครู
ความหมาย
“จิตวิทยา”เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตโดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกายสภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
แนวทางในการศึกษา
ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอนพร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1. ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ
แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญ
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ครู
หมายถึง ผู้สอน มาจากภาษาบาลีว่า “ครุ”
ภาษาสันสกฤตว่า “คุรุ” แปลว่า
หนัก สูงใหญ่
- ครูต้องรับภารหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบ
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก
วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ
พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน
เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร
หลักของการเรียนรู้ มี 3
รูปแบบ คือ
1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical
conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง
มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข
จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์
ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน
เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ
อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก
ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ
อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน
โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย
ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู
พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ
แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว
พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง
เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว
ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว
นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข
3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant
conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์
เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์
ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า
การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง
แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว
โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า
กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก
ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง
และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด
ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา
มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย
เอาสีข้างถูกรง
แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น
ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์
ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น
ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท
ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก
จิตวิทยาการรับรู้
เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท
และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ
ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์
เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้
ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้
ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม
ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง
การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์
เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้
โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ
การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
.3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น
โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
แนวทางในการศึกษา
-ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง
-นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียน
-ค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
-ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
-ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน
พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1. ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ แก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง
นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญ
1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
แนวคิด
๑.
การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์และทำให้บุคคลเผชิญกับสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม
๒.
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยวุฒิภาวะ
ลักษณะสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น คือ
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทนถาวร
ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึก การปฏิบัติซ้ำๆ และมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้
ความเข้าใจ ความรู้สึกและความสามารถทั้งทางปริมาณและคุณภาพ
๓. ทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ
ช่วยให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของบทเรียน
เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปเป็นแนวทางในการสอนและการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อศึกษาจบบทเรียนผู้เข้ารับการศึกษาแต่ละคนสามารถ
๑. องค์ประกอบของการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
๒. อธิบายธรรมชาติของการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
๓. อธิบายการถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ถูกต้อง
๔. วางแผนนำทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆ ไปใช้ในการเรียนการสอนได้ถูกต้อง
การเรียนรู้มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้
๑.
การเรียนรู้เป็นกระบวนการ
การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการของการเรียนรู้จากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้
๕ ขั้นตอน คือ
๑.๑ มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
๑.๒
บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาททั้ง ๕
๑.๓
บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
๑.๔
บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้
๑.๕
บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้า (Stimulus) มากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัส (Sensation)
ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕
แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้
(Perception)ใหม่
อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม
แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอด
(Concept) และมีปฏิกิริยาตอบสนอง (Response) อย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้า
ตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแสดงว่า เกิดการเรียนรู้แล้ว
๒.
การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะ คือ ระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์
สังคม
และสติปัญญาของบุคคลแต่ละวัยที่เป็นไปตามธรรมชาติ
แม้ว่าการเรียนรู้จะไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้ต้องอาศัยวุฒิภาวะด้วย
เพราะการที่บุคคลจะมีความสามารถในการรับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีวุฒิภาวะเพียงพอหรือไม่
๓. การเรียนรู้เกิดได้ง่าย
ถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
การเรียนสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน คือ
การเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนต้องการจะเรียนหรือสนใจจะเรียน
เหมาะกับวัยและวุฒิภาวะของผู้เรียนและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน
การเรียนในสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียนย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่ต้องการหรือไม่สนใจ
๔.
การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการในการเรียน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน บุคคลต่างกันอาจเรียนรู้ได้ไม่เท่ากันเพราะบุคคลอาจมีความพร้อมต่างกัน มีความสามารถในการเรียนต่างกัน
มีอารมณ์และความสนใจที่จะเรียนต่างกันและมีความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะเรียนต่างกัน
ในการเรียนรู้สิ่งเดียวกัน
ถ้าใช้วิธีเรียนต่างกัน ผลของการเรียนรู้อาจมากน้อยต่างกันได้
และวิธีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากสำหรับบุคคลหนึ่งอาจไม่ใช่วิธีเรียนที่ทำให้อีกบุคคลหนึ่งเกิดการเรียนรู้ได้มากเท่ากับบุคคลนั้นก็ได้
การนำความรู้ไปใช้
๑.
ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเกิดความรู้ใหม่
ต้องแน่ใจว่า ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่มาแล้ว
๒.
พยายามสอนหรือบอกให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
๓.
ไม่ลงโทษผู้ที่เรียนเร็วหรือช้ากว่าคนอื่นๆ
และไม่มุ่งหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะต้องเกิดการเรียนรู้ที่เท่ากันในเวลาเท่ากัน
๔. ถ้าสอนบทเรียนที่คล้ายกัน
ต้องแน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจบทเรียนแรกได้ดีแล้วจึงจะสอนบทเรียนต่อไป
๕.
พยายามชี้แนะให้ผู้เรียนมองเห็นความสัมพันธ์ของบทเรียนที่มีความสัมพันธ์กัน
ลักษณะสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่ามีการเรียนรู้เกิดขึ้น
จะต้องประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการ
คือ
๑.
มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างคงทน
ถาวร
๒.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเป็นผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึก
การปฏิบัติซ้ำๆ เท่านั้น
๓.
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวจะมีการเพิ่มพูนในด้านความรู้ ความเข้าใจ
ความรู้สึกและความสามารถทางทักษะทั้งปริมาณและคุณภาพ
สรุปหลักเกณฑ์การเรียนรู้ได้
ดังนี้
๑. การแผ่ขยายพฤติกรรม
๒. การลดภาวะ หรือการดับสูญการตอบสนอง
การนำหลักการมาประยุกต์ใช้ในการสอน
๑.
ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี
รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ
เช่น วิชาที่เรียน กิจกรรม
หรือครูผู้สอน
เพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
๒.
ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎีปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อเนื้อหาวิชา
กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
๓.
ครูสามารถป้องกันความรู้สึกล้มเหลว
ผิดหวัง
และวิตกกังวลของผู้เรียนได้โดยการส่งเสริมให้กำลังใจในการเรียนและการทำกิจกรรม
ไม่คาดหวังผลเลิศจากผู้เรียน และหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์หรือลงโทษผู้เรียนอย่างรุนแรงจนเกิดการวางเงื่อนไขขึ้น
กรณีที่ผู้เรียนเกิดความเครียด
และวิตกกังวลมาก
ครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายความรู้สึกได้บ้างตามขอบเขตที่เหมาะสม
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้ความเข้าใจ
ทฤษฎีการเรียนรู้ที่มองเห็นความสำคัญของกระบวนการคิดซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวบุคคลในระหว่างการเรียนรู้มากกว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง นักทฤษฎีกลุ่มนี้เชื่อว่า พฤติกรรมหรือการตอบสนองใดๆ
ที่บุคคลแสดงออกมานั้นต้องผ่านกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง ซึ่งหมายถึงการหยั่งเห็น (Insight) คือความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา
โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
องค์ประกอบของการเรียนรู้
มี ๒ ส่วน
คือ
๑. การรับรู้
เป็นกระบวนการแปลความหมายของสิ่งเร้าที่มากระทบประสาทสัมผัส
ซึ่งจะเน้นความสำคัญของการรับรู้เป็นส่วนรวมที่สมบูรณ์มากกว่าการรับรู้ส่วนย่อยทีละส่วน
๒. การหยั่งเห็น
เป็นการรู้แจ้ง
เกิดความคิดความเข้าใจแวบเข้ามาทันทีทันใดขณะที่บุคคลกำลังเผชิญปัญหาและจัดระบบการรับรู้
ซึ่งเดวิส ใช้คำว่า Aha ' experience
ขั้นตอนของการเรียนรู้โดยการสังเกต
๑. ขั้นให้ความสนใจ ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้ การเรียนรู้อาจจะไม่เกิดขึ้น เป็นขั้นตอน
ที่ผู้เรียนให้ความสนใจต่อตัวแบบ (Modeling) ความสามารถ ความมีชื่อเสียง
และคุณลักษณะเด่นของตัวแบบจะเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เรียนสนใจ
๒. ขั้นจำ
เมื่อผู้เรียนสนใจพฤติกรรมของตัวแบบ
จะบันทึกสิ่งที่สังเกตได้ไว้ในระบบความจำของตนเอง
ซึ่งมักจะจดจำไว้เป็นจินตภาพเกี่ยวกับขั้นตอนการแสดงพฤติกรรม
๓. ขั้นปฏิบัติ
เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนลองแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ
ซึ่งจะส่งผลให้มีการตรวจสอบการเรียนรู้ที่ได้จดจำไว้
๔. ขั้นจูงใจ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแสดงผลของการกระทำ
จากการแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบ
ถ้าผลที่ตัวแบบเคยได้รับ เป็นไปในทางบวก
ก็จะจูงใจให้ผู้เรียนอยากแสดงพฤติกรรมตามแบบ
ถ้าเป็นไปในทางลบ ผู้เรียนก็มักจะงดเว้นการแสดงพฤติกรรมนั้นๆ
การสื่อสารสองทาง
เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที
โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่กันก็ได้
แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมาโดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น
ในการที่จะเกิดการเรียนรู้ขึ้นได้นี้ มักจะพบว่าต้องอาศัยกระบวนการของการสื่อสารในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียวและการสื่อสารสองทาง
ในลักษณะของการให้สิ่งเร้าเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการแปลความหมายของเนื้อหาบทเรียนนั้น
และให้มีการตอบสนองเพื่อเกิดเป็นการเรียนรู้ขึ้น
ลักษณะของสิ่งเร้าและการตอบสนองในการสื่อสารนี้ หมายถึง การที่ผู้สอนให้สิ่งเร้าและการตอบสนองในการสื่อสารนี้
หมายถึง การที่ผู้สอนให้สิ่งเร้าหรือส่งแรงกระตุ้นไปยังผู้เรียนมีการตอบสนองออกมา
โดยผู้สอนอาจใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์
เป็นผู้ส่งเนื้อหาบทเรียน ส่วนการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ คำพูด การเขียน รวมถึงกระบวนการทั้งหมดทางด้านความคิด
การเรียนรู้
การเรียนรู้ซึ่งอาศัยรูปแบบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกีบการให้สิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้น
การแปลความหมาย และการตอบสนองนั้น มีดังนี้
1)
การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว เช่น
การสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่โดยการฉายวีดีทัศน์ โทรทัศน์วงจรปิด
หรือวิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน
ซึ่งการเรียนการสอนในลักษณะเช่นนี้ควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียน
หรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียนหรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้
เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกัน
จะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกัน
2)
การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทางอาจทำได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน
เช่น การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยหรือการใช้เครื่องช่วยสอน
เนื้อหาจะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง
การเรียนการสอนในลักษณะนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น
ความฉับพลันของการให้คำตอบจากโปรแกรมบทเรียนที่วางไว้เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน
เป็นการทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้และทำให้การถ่ายทอดความรู้บรรลุผลด้วยดี เป็นต้น
1.2 สื่อการสอน
สื่อการสอน (Instructional Medial) หมายถึง
สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดีทัศน์
แผนภูมิ ภาพนิ่ง ฯลฯ ซึ่งบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับผู้สอนส่งไปถึงผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้ได้เป็นอย่างดี
เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง
ๆ
ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้แต่ละประเภทในกระบวนการเรียนรู้ด้วย
โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา
นำมาสร้างเป็น “กรวยประสบการณ์”(Cone of Experiences)
โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง
โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น
เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง
เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด
ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง
เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละครเนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่
เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน ประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4) การสาธิต
เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5) การศึกษานอกสถานที่
เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียนอาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่
การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ
เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระ
ประโยชน์แก่ผู้ชมโดยกานำประสบการณ์หลายอย่างมาผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์
โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8) ภาพยนตร์
เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟีล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง
อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์
ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10) ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่
แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็น สัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11) วจนสัญลักษณ์
ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1.
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร
จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ
เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น
นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง
แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า
นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ
ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ
ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง
ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน
เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า
เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน
หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์
ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ
สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน
หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์
ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ
และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285)
ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต
หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน
ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ
เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา
ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้
แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
การเรียนรู้ของคนเรา เกิดจากการไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้
มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้
"…การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์
(organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation)
ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง
ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน
หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว
ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception)
แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม
แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต
มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ
ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา จำแนกได้ 7วิธี ดังนี้
1.วิธีทดลอง (Experimental Method)
การทดลองสามารถทำได้ 2
ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ
แต่ไม่ว่าจะเป็นการทดลองชนิดใดต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญ ได้แก่
การปฏิบัติซ้ำเพื่อตรวจสอบผลให้เกิดความมั่นใจ
การควบคุมเพื่อไม่ให้ผลลัพธ์คลาดเคลื่อนจากความจริง ตัวแปร คือ
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่าได้ และต้องมีขอบเขตจำกัด
ในการทดลองจะมีการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวประกอบ 2 ตัว
หรือ 2กลุ่ม โดยให้กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง (Experimental
Group) เป็นกลุ่มที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม
(Control Group) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะถูกเปรียบเทียบกัน
ปัจจุบัน วิธีทดลองถูกนำไปใช้ในจิตวิทยาสมัยใหม่เกือบทุกสาขาอย่างได้ผลดี
2.วิธีการตรวจสอบจิต (Introspection)
เป็นการให้บุคคลสำรวจตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวน
และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา
แล้วรายงานความรู้สึกออกมาดายการอธิบายทั้งเหตุและผลของการกระทำนั้นๆ
การศึกษาด้วยวิธีการนี้มีข้อดีตรงที่เป็นข้อมูลตรงจากผู้ได้รับประสบการณ์
หากผู้รายงานจดจำได้แม่นยำ รายงานตามความเป็นจริงไม่ปิดบัง
มีความซื่อสัตย์และจริงใจ
แต่อาจเป็นข้อเสียถ้าผู้รายงานจำเหตุการณ์ไม่ได้หรือไม่ชัดเจนหรือไม่ต้องการบอกข้อมูลที่แท้จริงให้ทราบซึ่งจะทำให้การตีความหมายของเรื่อง
เหตุการณ์นั้นคิดพลาดไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
3.วิธีใช้แบบทดสอบ (Testing Method)
เป็นการใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆพฤติกรรม
โดยให้ผู้รับการทดลองเป็นผู้ทำแบบทดสอบ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติก็ได้
แบบทดสอบจะช่วยวัดความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ รวมทั้งการวัดบุคลิกภาพ อารมณ์
ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ
และความคิดเห็นโดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาซึ่งมีหลายประเภท
การใช้แบบทดสอบมีสิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือค่าความเชื่อมั่นและค่าความเที่ยงตรงของแบบทดสอบซึ่งควรได้มาตรฐานและสามารแปรผลได้อย่างถูกต้อง
4.วิธีสังเกต (Observation)
การสังเกตมี 2 ลักษณะ คือ
การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน และการสังเกตอย่างมีแบบแผน
สำหรับการสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน เป็นวิธีสังเกตธรรมชาติ ไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนล่วงหน้า
ผู้จะสังเกตสามารถสังเกตได้ตามความสะดวก
เป็นการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลตามสภาพธรรมชาติ วิธีนี้มีข้อเสียคือ
ผู้สังเกตไม่สามารถควบคุมตัวประกอบเฉพาะส่วนที่สนใจจะศึกษาได้
ส่วนการสังเกตอย่างมีแบบแผนเป็นการสังเกตที่มีการเตรีมการและการวางแผนล่วงหน้า
กำหนดวัน เวลา สถานที่ บุคคล พฤติกรรมและสถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว
จุดสำคัญของการสังเกตคือ จะต้องทำอย่างระมัดระวัง
ผู้สังเกตต้องไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตัวสังเกต
และต้องจดบันทึกสิ่งที่ได้เห็นอย่างละเอียด โดยไม่เพิ่มเติมความรู้ส่วนตัวลงไป นอกจากนั้นผู้สังเกตควรได้รับการฝึกหัดสังเกตมาพอสมควร
ต้องเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน
และรู้จัดเทคนิคการสังเกตเป็นอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและกำจัดความลำเอียงให้มีน้อยที่สุด
5.วิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
เป็นวิธีการศึกษาในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้
ความเข้าใจในสิ่งนั้น วิธีนี้ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
- ขั้นการตั้งปัญหา (Problem) เป็นการตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจ
ต้องการศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น
- ขั้นการตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
- ขั้นการรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด
และต้องวางแผนไว้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้ด้วยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์ การทดลอง
- ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เป็นการนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำแปลความหมายด้วยกาสรวิเคราะห์ตามหลักสถิติ
- ขั้นการสรุปผล (Conclusion) เป็นการสรุปผลและรายงานผลที่ได้จาการศึกษาค้นคว้าและนำผลนั้นไปใช้
รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อไปด้วย
6.วิธีการศึกษารายกรณี (Case Study Method)
เป็นการศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของบุคคลซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง
แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณา
ตีความเพื่อให้เขาใจความเป็นมาในอดีตและช่วยชี้ให้เห็นปัญหาที่บุคคลนั้นกำลังเผชิญอยู่
ทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและพฤติกรรมปัจจุบัน เพื่อหาทางช่วยเหลือ แก้ไข ปรับปรุง
ตลอดจนส่งเสริมพฤติกรรมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์
โดยการศึกษาหาข้อมูลของบุคคลอย่างละเอียด เช่น ประวัติการตั้งครรภ์ การคลอด สุขภาพ
การเรียน สังคม อารมณ์ ซึ่งอาจได้จากการสัมภาษณ์ จากบุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา
ญาติพี่น้อง ทั้งนี้เพือให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดให้มากที่สุด
7.วิธีการสัมภาษณ์ (Interview)
เป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
สามารถทำได้ทั้งอย่างมีแบบแผนและไม่มีแบบแผน
จุดประสงค์เพื่อต้องการรู้รายละเอียดและทำให้เข้าใจในตัวบุคคล การใช้เทคนิคการสัมภาษณ์มีลักษณะคล้ายแบบสอบถาม
คือ
เป็นการถามตอบเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการซึ่งสามารถทำได้ทั้งเป็นหมู่และเป็นรายบุคคล
โดยมีวิธีการเป็นขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมสถานที่ คำถาม
นัดหมายเวลา และสร้างความคุ้นเคยกับบุคคลที่จะถูกสัมภาษณ์ ขั้นสัมภาษณ์
เป็นการดำเนินการตามแผนที่วางไว้
พยายามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์พูดหรือแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด
และขั้นสุดท้ายเป็นการยุติการสัมภาษณ์เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
การนำจิตวิทยาไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน
“คนเราเกิดมามีชีวิตอยู่กับคน
เรียนรู้ และทำงานร่วมกับคน
ใช้สิ่งต่าง ๆ ในสังคม ร่วมกับคน
มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะคน ...”
จากคำกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าทุกชีวิตจะต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าทุกคนต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม คนเราจะต้องดิ้นรนและมีพฤติกรรมต่าง
ๆ ไม่มีสิ้นสุดการกระทำหรือที่เรียกว่าพฤติกรรมนี้เอง เป็นสิ่งที่สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อศึกษาทางจิตวิทยา และศึกษาบุคคลแต่ละคน การกระทำของแต่ละบุคคลจะไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เพราะคนมีความคิด และแรงจูงใจที่แตกต่างกัน
ดังนั้นจิตวิทยาในชีวิตประจำวัน จึงหมายถึง การศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่ออธิบาย คาดการณ์ หรือควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อจะได้เข้าใจและสามารถนำชีวิตของเราให้ดำเนินไปได้อย่างเฉลียวฉลาด และยังมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นที่อยู่ร่วมกับเราด้วย ถ้าเรามีจิตวิทยาดี เราย่อมจะเป็นที่พึ่งพาแก่ผู้อื่นได้ และถ้าเรามีความจำเป็นต้องไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น เราก็ย่อมได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีเช่นกัน
จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของบุคคล ดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เช่น รู้ว่าอะไรเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ มนุษย์เกิดความรู้สึกอย่างไรเมื่อไม่สามารถสนองตอบความต้องการของตนเองได้ และอะไรเป็นแรงผลักดันให้คนแสดงพฤติกรรมต่างกัน
2. ช่วยในการปรับตัวและแก้ปัญหาทางจิตใจของตนเอง เช่น รู้วิธีรักษาสุขภาพจิตของตนเอง รู้วิธีเอาชนะปมด้อย วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง และขจัดความวิตกกังวลต่าง
ๆ ได้
3. ช่วยให้เกิดการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถเข้าใจและรู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจิตวิทยามีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เราจึงควรเรียนรู้ และนำหลักจิตวิทยามาใช้ เพื่อชีวิตของเราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากขึ้น ในทางจิตวิทยาถือว่าผู้ที่สามารถใช้จิตวิทยาในการดำเนินชีวิต ควรมีลักษณะดังนี้
1. สนใจและเข้าใจในความคิด ความรู้สึกของคนรอบข้าง
2. รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้อื่นได้ดี
3. รู้ เข้าใจศักยภาพและส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้อื่นได้อย่างถูกทาง
4. มีความจริงใจต่อกัน เพราะความจริงใจเป็นรากฐานของความผูกพันที่ลึกซึ้ง
2.
การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
คนที่มีความสุข คือคนที่มีความสมหวัง เป็นคนที่สามารถประกอบกิจการงานประสบความสำเร็จตามความปรารถนา มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มีอารมณ์ขุ่นมัวหรือวิตกกังวล มีอารมณ์มั่นคง มีความอดทนและมีความสามารถต่อสู้อุปสรรคต่าง
ๆ ได้ เป็นคนที่ยอมรับความจริงในชีวิต ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
กล่าวโดยสรุป คนที่มีความสุขก็คือ คนที่มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เป็นคนที่สามารถปรับตัวได้อย่างดีในการดำรงชีวิตประจำวัน
ความสุขเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ เป็นการมองชีวิต มองตัวเอง และมองผู้อื่น ดังนั้นความสุขจึงเกิดขึ้นได้กับคนทุกชั้นไม่ว่า ผู้ดี มั่งมี หรือยากจน แนวความคิดทางด้านจิตวิทยาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข อาจกล่าวสรุปได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ คือ
1. พยายามรักษาสุขภาพทางกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า สุขภาพทางกายและสุขภาพทางจิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิด คนที่มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ย่อมมีจิตใจร่าเริง สนุกสนาน ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่แข็งแรง ย่อมเจ็บป่วยเสมอ ทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด รำคาญใจ ดังนั้นเราจึงควรรักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอโดยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ มีการพักผ่อนเพียงพอ รักษาความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้ ตลอดจนหมั่นออกกำลังกายอยู่เสมอ
2. รู้จักตนเองอย่างแท้จริง
ควรสำรวจตัวเองว่า เป็นคนอย่างไร มีความสามารถทางใด แค่ไหน มีความสนใจและต้องการสิ่งใด มีอะไรเป็นข้อดีและข้อเสีย พยายามทางแก้ไขข้อบกพร้องและส่งเสริมส่วนที่ดี จะทำให้เราตั้งเป้าหมายของชีวิตได้เหมาะสมกับความเป็นจริง ตลอดจนมีโอกาสพบกับความสำเร็จและความสมหวังได้มาก
3. จงเป็นผู้มีความหวัง
เราควรตั้งความหวังไว้เสมอ แม้เวลาที่ตกต่ำก็อย่าทอดอาลัย จงคิดหวังเสมอว่าเราจะไม่อยู่ในสภาพเช่นนี้ตลอดไป สักวันหนึ่งเราอาจจะดีขึ้นได้
4. ต้องกล้าเผชิญกับความกลัวและความกังวลใจต่าง ๆ
ในชีวิตของเรานี้มีสิ่งต่าง ๆ มากมาย ที่ทำให้กลัวเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้น เมื่อรู้สึกกลัวอะไรต้องพยายามค้นหาความจริงว่าสิ่งนั้นคืออะไร อย่าปล่อยจิตใจให้หวาดกลัวโดยไม่มีเหตุผล
5. ไม่ควรเก็บกดอารมณ์ที่ตึงเครียด
ควรหาทางระบายอารมณ์ที่ขุ่นมัวหรือไม่สบายใจ โดยหาทางออกในสิ่งที่สังคมยอมรับและเป็นไปในทางที่พึงปรารถนา
6. จงเป็นผู้มีอารมณ์ขัน
การมีอารมณ์ขันช่วยให้มีอารมณ์ผ่อนคลาย ไม่ควรมองการไกลในแง่เอาเป็นเอาตายมากเกินไป
7. การยอมรับข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดของตนเอง
การรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง จะช่วยให้เรายอมรับข้อบกพร่อง หรือความผิดพลาดของตนเอง และให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่นได้
8. ต้องรู้จักพอใจในสิ่งที่ตนทำอยู่
การรู้จักพอใจในงานหรือสิ่งที่ตนทำอยู่ จะทำให้บุคคลนั้นเกิดอารมณ์สนุก ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ทำให้ชีวิตน่าสนใจ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน มีกำลังใจเข้มแข็งในการต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ มีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส ทำให้ชีวิตมีความสุขและสดชื่นอยู่เสมอ
9. มีความต้องการพอเหมาะพอควรและมีความยืดหยุ่นได้
ต้องมีเหตุผล รู้จักความพอดีเกี่ยวกับความต้องการ ความปรารถนา ความทะเยอทะยาน ควรมีความคิดใฝ่ฝันที่ใกล้เคียงกับความสามารถและความเป็นจริง จะช่วยให้เราวางแผนต่าง ๆ ไว้เป็นระยะ ๆ เพื่อประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้
10. อย่าพะวงเกี่ยวกับตนเองมากเกินไปหรืออย่าคิดถึงแต่ตัวเองตลอดเวลา
เช่น คิดว่าตัวเองจะต้องเด่น ต้องดี ต้องสำคัญกว่าผู้อื่น การคิดแต่เรื่องของตัวเองจะทำให้เราไม่มีความสุขเลย เพราะไม่ว่าเราจะคิดอะไร ทำอะไรหรือไปที่ไหน จะต้องตกอยู่ในภาวะของการแข่งขันตลอดเวลา
11. การยอมรับสภาพของตัวเองโดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
เพราะการเปรียบเทียบจะทำให้เราเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจว่า
ทำไมเราจึงไม่โชคดีอย่างคนอื่น แต่เราอาจไม่ทราบว่า คนอื่นเขาก็มีความทุกข์เหมือนกัน
12. การยึดคติว่า จะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ
การทำสิ่งใดให้ใครโดยหวังผลตอบแทน ย่อมจะทำให้ผิดหวังได้มากเพราะมัวแต่กังวลอยู่ว่าเราจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด เมื่อไม่ได้รับตามที่ตนคาดหวังก็จะผิดหวังทำให้ไม่มีความสุข คิดว่าตนได้รับความอยุติธรรมอยู่เสมอ
13. การหาเพื่อนสนิทสักคนหนึ่ง หรือใครก็ได้ที่สามารถระบายความทุกข์และปรึกษาหารือได้
เพราะการมีเพื่อนจะทำให้เรารู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวในโลก
14. จงปล่อยให้เหตุการณ์บางอย่างผ่านไปตามแนวทางของมัน
อย่าไปฝืนหรือเอาจริงเอาจังเกินไป เมื่อทำอะไรไม่สำเร็จก็เกิดอารมณ์ตึงเครียด จงหยุดพักเสียระยะหนึ่ง แล้วค่อยหันกลับมาทำใหม่ หรือเปลี่ยนแนวทางการกระทำเสียใหม่
15. จงตระหนักว่า เวลาเป็นยารักษาความเจ็บปวด เมื่อพลาดหวังหรือผิดหวัง
จงอดทนและมีความหวังต่อไป ไม่ควรใช้วิธีถอยหนีหรือหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการทำลายตัวเองต้องนึกไว้เสมอว่า ถ้าเราปล่อยให้เวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตาม ความเจ็บปวดต่าง ๆ จะค่อย ๆ ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด
16. อย่าปล่อยให้เวลาว่างไปวันหนึ่ง ๆ โดยไม่ทำอะไร
การปล่อยให้เวลาว่าง จะทำให้คิดฟุ้งซ่าน ต้องพยายามหางานอดิเรกที่ตนสนใจทำ เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นกีฬา อ่านหนังสือ ฯลฯ โดยเฉพาะงานอดิเรกที่เกี่ยวพันกับธรรมชาติ จะช่วยบำรุงจิตใจให้ชีวิตมีความสุขสดชื่น และมีความสงบ
ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงข้อเสนอแนะ หรือแนวทางในการปฏิบัติตนอย่างกว้าง ๆ การที่จะดำรงชีวิตอยู่ให้มีความสุขเพียงใดขึ้นอยู่กับบุคคลว่า จะนำหลักการหรือแนวทางไปดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับตนแค่ไหน เพียงใด และจริงจังหรือไม่เป็นสิ่งสำคัญ
3.
การปฏิบัติตนเมื่อมีอารมณ์เครียด
ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะทำให้ชีวิตของคนเรามีความสุข คือ “การรู้จักปฏิบัติตนเมื่อมีอารมณ์เครียด” ธรรมดาคนเราย่อมตกเป็นทาสอารมณ์ของตนไม่มากก็น้อย เมื่อตกเป็นทาสอารมณ์สิ่งที่ตามมาก็คือ ความผิดหวัง ความท้อแท้ และที่ร้ายยิ่งก็คือ ความทอดอาลัยตายอยากต่อชีวิตหมดศรัทธาในตนเอง และหมดศรัทธาในทุกสิ่งทุกอย่าง
เมื่อเราไม่สามารถหลีกหนีความเครียด อารมณ์ที่หม่นหมอง หรือความไม่สบายใจได้ ก็จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีแก้ไขเมื่อเกิดอารมณ์เช่นนี้กับตนเอง โดยปฏิบัติตามหลักการ ดังนี้
1. พยายามเตือนตนเอง พิจารณาเหตุผลที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ แล้วเลิกคิดเสีย เพื่อจะได้ตัดทอนอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ มีสติที่จะมองเหตุการณ์ได้ถูกต้องตรงความเป็นจริง และหาวิธีแก้ปัญหาของตนได้ดีขึ้น
2. ในชีวิตประจำวันต้องเป็นคนดำเนินชีวิตอยู่เพื่อความดี คนที่มีอุดมคติว่า เงิน ชื่อเสียง อำนาจ และความสุขสำราญ สำคัญเหนือสิ่งทั้งหมด คนพวกนี้จะตกเป็นทาสอารมณ์ได้ง่ายที่สุด แต่ถ้าผู้ใดยึดหลักพุทธศาสนา 3 ประการ คือ ทำความดี ละความชั่ว และทำใจให้บริสุทธิ์ ชีวิตของผู้นั้นจะสะอาด หมดจด : จิตใจสบายขึ้น
3. การมองคนในแง่ดีเสมอ ไม่เอาความชั่วมาลบล้างความดีที่เขามีอยู่
4. ก่อนที่จะทำอะไรลงไป ต้องนึกถึงเหตุผลทุกครั้ง อย่าทำอะไรเอาแต่ใจตน หรือทำแต่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว หัดเป็นคนรู้จักฟังความคิดของคนอื่นบ้าง เป็นคนใจกว้าง หรืออดทนต่อข้อขัดแย้งต่าง ๆ ได้
5. จงดำรงชีวิตอยู่ด้วยความยืดหยุ่น หมายความว่า รู้จักปรับตัวให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์ให้คิดว่าทางเดินที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางนั้นมีได้หลายทาง จงอย่าคิดที่จะเดินทางเดียวโดยเด็ดขาดควรจะขยับขยายได้บ้าง
6. พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดความไม่สบอารมณ์ และอย่าทำตนเป็นยอดมนุษย์ที่จะแสวงหาความสุขสมบูรณ์พร้อม เพราะไม่มีใครเก่งพร้อมทุกอย่าง
7. พยายามระงับความโกรธ ความโมโหฉุนเฉียวลงด้วยเวลาอันรวดเร็วที่สุด เพราะความโกรธนั้นหากมีอยู่ในบุคคลใดและเวลาใดแล้ว จะทำให้บุคคลนั้นมีแต่ความคิดที่มืดมน หาทางออกที่ไม่ดี อันจะทำให้รู้สึกเสียใจในภาคหลังได้
อย่าลืมว่าความเครียด ความไม่สบายใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทางใจ จะแก้ได้ก็ด้วยใจเท่านั้น ดังนั้นขอให้ใช้กำลังใจหรืออำนาจใจแก้ปัญหาใจของตนเอง จึงจะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพกายทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นอย่างดี มีอายุยืน มีความเจริญรุ่งเรือง อันเป็นยอดปรารถนาของทุกคน
4.
วิธีสร้างกำลังใจให้ตนเอง
“กำลังใจ” เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เมื่อบุคคลได้ลงมือทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องตั้งความหวังไว้เสมอ เว้นไว้แต่ว่าความหวังนั้นจะสมหวังหรือไม่ ช้าหรือเร็ว ไม่มีผู้ใดเลยเมื่อทำเหตุแล้วจะไม่หวังผล แต่ถ้าตั้งความหวังเอาไว้สูงเกิดเหตุ ก็จะไม่สมหวัง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมดกำลังใจ และถ้าคนหมดกำลังใจเสียแล้ว ก็ได้ชื่อว่าหมดทุกอย่าง เรามักได้ยินคนพูดเสมอว่าหมดกำลังใจ ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไรเลย ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จะเป็นอันตรายต่อบุคคล สาเหตุที่ทำให้มนุษย์เกิดความทุกข์ หรือหมดกำลังใจ มีดังต่อไปนี้
1. สิ่งนั้นทำให้อับอายขายหน้า
2. เมื่อต้องอยู่ในสภาพที่เทียบกับผู้อื่นไม่ได้
3. มีอุปสรรคหรือสถานการณ์ที่ทำให้โกรธ
4. เห็นผู้อื่นมีอำนาจ มีอิสระเสรีมากกว่าตน
5. เมื่อมีคำพูดพาดพิงมาถึงตน และคำพูดนั้นเข้าใจตนผิดจากความเป็นจริง
6. เมื่อต้องสูญเสียสิทธิ อำนาจ หน้าที่การงาน ที่ตนเองเข้าใจว่าเป็นของตนมานานแล้ว
7. ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่จากเพื่อนฝูงหรือหัวหน้างาน
เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคคลมีความปรารถนาที่จะได้กำลังใจ ซึ่งมีอยู่ 2 ทาง คือ
1. ได้จากคนอื่น
2. ได้จากตัวเราเอง
ทั้งสองอย่างนี้ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน และมีความสำคัญมากในการต่อสู้ชีวิต เพราะทุกคนต่างปรารถนาที่จะมีแต่ความสุขเท่านั้น
1. กำลังใจที่ได้จากคนอื่น
บุคคลที่สมควรจะเป็นกำลังใจให้เราได้ก็คือ บิดา มารดา ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่ หรือบุคคลที่เรารัก เคารพ และไว้วางใจ คนที่มีความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน ย่อมมีความต้องการที่จะเห็นคนที่ตนรักมีความสุข ความเจริญ ดังนั้นเราควรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นกำลังใจต่อกัน โลกก็จะอยู่อย่างเป็นสุข มีแต่ความสงบเสมอ
2. กำลังใจที่ได้จากตัวเราเอง
บุคคลที่กล่าวมาข้างต้นนั้นแม้ว่าจะให้กำลังใจเราดีก็ตาม แต่ไม่สำคัญเท่าตัวเราเอง เพราะว่าการที่เราจะได้กำลังใจในการทำงานแต่ละครั้งที่จะสำเร็จได้หาใช่กำลังใจภายนอกเท่านั้น กำลังใจที่สำคัญที่สุดก็คือ “ตัวของเราเอง” ถ้าเราไม่อบรมตัวเราและทำจิตใจให้เข้มแข็งแล้ว งานทุกอย่างก็ไม่มีทางสำเร็จได้ ฉะนั้นเราทุกคนควรสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้น เมื่อเกิดความท้อใจขึ้นมาเมื่อใดต้องคิดว่า “การเดินทางย่อมสิ้นสุดเมื่อถึงที่หมาย” พยายามสร้างความหวังให้แก่ตนเอง การทำอะไรต้องมีความหวังไว้เสมอเพื่อเป็นกำลังใจให้ตนเองที่จะให้สำเร็จผลได้ แต่อย่าตั้งความหวังไว้สูงเกินไป เพื่อจะได้ไม่เสียใจภายหลัง
วิธีสร้างกำลังใจให้ตนเองอย่างง่าย ๆ มีดังต่อไปนี้ คือ
1. ไม่ท้อแท้ต่อชาติกำเนิด แม้จะอยู่ในตระกูลที่ยากจน
2. อย่าอยู่นิ่งเฉย จะรีบลงมือหาทางทำงานหรือต่อสู้ต่อไป
3. เป็นคนใจแข็ง ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคต่าง ๆ
4. คิดหาทางแก้ไขตนเองทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ข้อสำคัญอย่าทิ้งข้อเสียเปรียบไว้ โดยไม่ได้ถามตนเองหรือคิดปรับปรุงตนเอง
ลักษณะของผู้ที่มีกำลังใจดี มีดังต่อไปนี้ คือ
1. นึกถึงกฎของกรรมที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
2. มองโลกในทางเป็นจริง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
3. สร้างความหวังให้แก่ตนเอง
4. ไม่อยู่ตามบุญตามกรรม
5. ใช้ความอดทน ความเพียรพยายามให้สุดความสามารถ ยึดภาษิตที่ว่า “ลองอีกครั้งหนึ่ง”
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ตนเอง
ถ้าบุคคลต้องการความสมหวังในชีวิต ควรสร้างสิ่งต่าง
ๆ ดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่ตน บางคนอาจยังไม่เห็นถึงความสำคัญ แต่เมื่อไหร่ถ้าเราเกิดความทุกข์ เราจะพบว่า “กำลังใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
5.
วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
ปัญหาความขัดแย้งเป็นของคู่โลก ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความแตกต่างกันอยู่ แต่ก็มิได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งให้ลดน้อยลงไปได้ การสร้างความเข้าใจในสาเหตุและกระบวนการของการเกิดปัญหาความขัดแย้ง ตลอดจนแสวงหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ อาจช่วยป้องกัน ขจัด หรือ ลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้บ้าง
คำว่า “ความขัดแย้ง (conflict)” เป็นคำที่มีความหมายและใช้กันมาก โดยทั่วไปหมายถึงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลเมื่อมีความคิดเห็นหรือความต้องการแตกต่างกัน โดยที่คู่กรณีไม่สามารถจะตัดสินใจหรือตกลงหาข้อยุติอันเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย
ความขัดแย้งแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ความขัดแย้งต่อตนเอง : ทางจิตวิทยาถือเป็นความล้มเหลวของกลไกขั้นพื้นฐานของการตัดสินใจซึ่งบุคคลแต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันในการเลือกกระทำการต่าง
ๆ ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลจะต้องตัดสินปัญหา เช่น ต้องการซื้อรถหรือจะเอาเงินมาปลูกบ้าน อยากมีแฟนแต่กลัวเรียนไม่จบ อยากไปเที่ยวแต่กลัวทำงานส่งอาจารย์ไม่ทัน เป็นต้น
2. ความขัดแย้งภายในกลุ่ม : เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลมีความต้องการ ความคิดเห็น ทัศนคติ และค่านิยมไม่เหมือนกัน อาจเกิดขึ้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่ม
3. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม : เป็นความขัดแย้งที่แต่ละกลุ่มมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่แต่ละกลุ่มจะต้องรักษาผลประโยชน์ไว้ให้กับกลุ่มของตนเอง
ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
โดยทั่วไปแล้วคนทุกคน มักจะประสบกับความขัดแย้งไม่ประเภทใดก็ประเภทหนึ่งอยู่เสมอ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ เมื่อบุคคลประสบปัญหาความขัดแย้งแล้วแก้ไขด้วยวิธีใด ในเรื่องนี้ได้มีผู้ศึกษาและรวบรวมยุทธวิธีแล้วนำมาจัดเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
1. วิธีปฏิเสธหรือถอนตัวจากปัญหาความขัดแย้ง คือทำไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ยอมรับปัญหานั้น
ปล่อยให้เรื่องดำเนินไปเองแล้วแต่สถานการณ์จะพาไป
2. วิธีกลบเกลื่อนปัญหา คือ พยายามหาทางกลบเกลื่อนไม่ให้ปัญหานั้นโผล่ขึ้นมาอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง
3. วิธีใช้อำนาจในการแก้ปัญหา ได้แก่การใช้อำนาจของตนเข้าไปแก้ปัญหานั้นโดยตรง
4. วิธีใช้การประนีประนอม หรือเจรจาตกลงในการแก้ปัญหา กล่าวคือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง พยายามแก้ไขหรือลดความขัดแย้ง โดยการพยายามประนีประนอมขอร้องหรือเจรจาตกลงกับอีกฝ่ายหนึ่ง
5. วิธีร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาความขัดแย้ง ได้แก่ การที่ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากันและช่วยเหลือกันแก้ปัญหา เพื่อให้ความขัดแย้งนั้นหมดไป
ยุทธวิธีทั้ง 5 ประการข้างต้นเป็นวิธีการที่บุคคลทั่วไปมักใช้กันอยู่เสมอซึ่งจะเห็นว่าวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 คือการหนีหรือกลบเกลื่อนปัญหา ไม่ได้ช่วยให้ปัญหาความขัดแย้งนั้นหมดไป เพียงแต่ชะลอไม่ให้ปัญหาความขัดแย้งเป็นจุดเด่นขึ้นมา ความขัดแย้งนั้นอาจจะระเบิดขึ้นมาอีกก็ได้ สำหรับวิธีที่ 3 คือการใช้อำนาจ อาจเป็นวิธีที่ได้ผล คู่กรณีอาจจำเป็นต้องยอมจำนนเพราะอำนาจ แต่ความขัดแย้งภายในใจจะยังมีอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดเป็นปัญหาในภายหลังได้ วิธีที่ 4 นับเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นก็ตามการเจรจาก็ย่อมหมายความว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องยอมด้วยเงื่อนไข แต่อาจเกิดความไม่พอใจเคลือบแฝงอยู่ ดังนั้นวิธีที่ 5 คือวิธีที่ทั้ง 2 ฝ่ายหันหน้าเข้าช่วยกันแก้ปัญหาโดยต่างก็คำนึงถึงความต้องการของกันและกัน จึงนับเป็นวิธีที่ดีที่สุดใน 5 วิธีนี้ เพราะเป็นวิธีการที่ได้มาจากความพึงพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตามวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้กันน้อยเพราะยากแก่การปฏิบัติเนื่องจากจะหาคู่กรณีที่มีความเข้าใจกันและกัน และพร้อมที่จะหันหน้าเข้าหากันได้ยาก
นอกจากยุทธวิธีดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ โดยมองในแง่ของผลที่คู่กรณีจะได้รับในการแก้ปัญหา ยุทธวิธีดังกล่าวคือ
1. ยุทธวิธีแบบแพ้ - ชนะ
การแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้ คือการที่ต่างฝ่ายต่างจะเอาชนะกันและกัน เพื่อให้ฝ่ายตนประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหวังเอาไว้ การแก้ปัญหาแบบนี้มักจะยุติลงตรงที่ว่า ฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายชนะและอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายแพ้ อย่างไรก็ตามผลมักจะปรากฏอยู่ว่า ในกรณีแพ้-ชนะนี้ “ผู้แพ้” มักจะไม่ค่อยยอมรับในความเป็นผู้แพ้ของตน บางกรณีถึงกับเคียดแค้น อาฆาต พยาบาทและหาทาง “แก้แค้น” ในโอกาสต่อไป
2. ยุทธวิธีแบบแพ้ – แพ้
การแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้คือการที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็ไม่ได้ตามที่ตนต้องการ หรือแต่ละฝ่ายได้ส่วนที่ตนเองต้องการกันข้างละนิด การแก้ปัญหาแบบนี้มักจะใช้วิธีออมชอมกัน เพราะต่างฝ่ายต่างถือคติที่ว่า “ได้ครึ่งหนึ่งยังดีกว่าไม่ได้เลย” หรือไม่ก็อาจหาคนกลางช่วยตัดสินใจ
3. ยุทธวิธีแบบชนะ – ชนะ
การแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีนี้ คือการที่ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างก็ได้ตามจุดประสงค์ที่ตนเองต้องการ โดยวิธีร่วมมือกันแก้ปัญหา และพยายามหาวิธีการที่จะสามารถช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่าย ได้บรรลุผลสำเร็จตามที่ตนเองต้องการ ซึ่งการแก้ปัญหาแบบนี้ผลสำเร็จจะได้แก่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีฝ่ายใดแพ้ฝ่ายใดชนะ
จากยุทธวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3 แบบดังกล่าวมาแล้วจะเห็นว่า แบบของการแก้ปัญหาที่มักจะใช้หรือพบกันบ่อย
ๆ คือ แบบแพ้ – ชนะ และแบบแพ้ – แพ้ แต่จากผลของการทดลองและวิจัยค้นคว้าในยุคใหม่ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ให้ความเห็นและยืนยันว่าแบบชนะ – ชนะ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดและให้ผลดีกว่าในระยะยาว
บทสรุป
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ฉะนั้นการอยู่ร่วมกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากและเป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุด ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ส่วนมากที่เกิดขึ้นประจำนั้น มีสาเหตุมาจากความไม่เข้าใจกันของมนุษย์นั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น